14 บลจ.ตั้งโครงการ “กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย” ตัดเงินค่าฟี 40% บริจาคองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ตลท. เผยเตรียมเปิดกระดานเทรดสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี แยกจาก SET และ mai นางวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย และนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เปิดเผยว่า บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จำนวนกว่า 14 บริษัทที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (เอ็นเอวี) รวมกันมากถึง 93% ของเอ็นเอวีในอุตสาหกรรมกองทุนได้ร่วมกันก่อตั้งโครงการ “กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย” เพื่อลงทุนในบริษัทที่มีธรรมาภิบาลที่ดี จากนั้นจะแบ่งค่าธรรมเนียมการบริหารกองทุน 40% ไปสนับสนุนองค์กรหรือโครงการที่มีแนวคิดในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในตลาดทุนและต่อต้านคอร์รัปชัน คาดว่ากองทุนดังกล่าวจะเริ่มเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชนทั่วไปได้ในกลางปี 2560 อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ทั้ง 14 บลจ.จะร่วมกันคัดเลือกบริษัทจดทะเบียนใน ตลท. มีคุณสมบัติการกำกับกิจการที่ดี โดยจะคัดเลือกบริษัทเข้าเกณฑ์มาอยู่ในตระกร้าหุ้นเดียวกัน จากนั้น บลจ.แต่ละแห่งจะจัดตั้งกองทุนของตัวเองและคัดเลือกหุ้นพร้อมทั้งกำหนดสัดส่วนการลงทุนเอง ซึ่งจะทำให้แต่ละกองทุนมีผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ด้าน นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ในเดือน มี.ค.2560 ตลท.จะเข้าร่วมงาน CEO Meeting ที่ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งจะมีการหารือแนวทางการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมกัน ทั้งนี้ คาดว่าปีนี้จะมีบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในอาเซียนอย่างน้อย 2 บริษัท โดยจะจดทะเบียนในรูปแบบ Duo listing ในตลาดหลักทรัพย์ไทย นอกจากนี้ ตลท.จะเปิดให้มีกระดานซื้อขายหุ้นของกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) (New Platform) ซึ่งกระดานซื้อขายดังกล่าวจะแยกออกจากตลาดหลักทรัพย์ (SET) และตลาดเอ็มเอไอ (mai) แต่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ตลท. โดยขณะนี้มีบริษัทสตาร์ทอัพกว่า 607 รายที่แสดงความสนใจ.
นอกจากนั้น ยังมีโครงการด้านหลักสูตรที่ปลูกฝังคุณธรรมด้านธรรมาภิบาลให้กับเยาวชน เช่น โตไปไม่โกง หรือโครงการด้านการผลิตข่าวสืบสวนสอบสวนที่องค์กรสื่อต่างๆ ดำเนินการ ฯลฯ อีกมากมายหลายรูปแบบ “ผมคิดว่าด้วยแนวคิดการจัดการแบบนี้ย่อมเท่ากับว่า นักลงทุนทั้งบุคคลและนักลงทุนสถาบันได้มีส่วนร่วมในการพัฒนายกระดับธรรมาภิบาลพร้อมต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และเชื่อว่ากองทุนรวมนี้สามารถสร้างผลลัพธ์ทางสังคม จึงนับเป็นการลงทุนทางสังคมที่เกินคุ้มเมื่อเทียบกับมูลค่าความเสียหายของประเทศจากการทุจริตที่คิดเป็นมูลค่าเงินสูงถึงหลักแสนล้านบาท” ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อคนไทยกล่าว ส่วนนายณัฐนันท์ วิจิตรอักษร นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย นับเป็นนวัตกรรมทางสังคมใหม่ของไทยและของโลกซึ่งอาจสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้แก่ภาคเอกชนโดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนได้ ดังนั้น จำเป็นต้องมีกลไกการตรวจสอบที่ดีและต้องสร้างความไว้ใจเพื่อก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและการยอมรับ สำหรับการประชุมประกาศเจตนารมณ์รวมพลังภาคตลาดทุน ตลาดการเงิน ร่วมก่อตั้งโครงการ “กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย” ครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงจากภาคตลาดทุนและภาคการเงินจำนวนกว่า 10 องค์กร จากองค์กรกำกับ โดยนางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และนายรพี สุจริตกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ร่วมนำเสนอหัวข้อ “การยกระดับธรรมาภิบาลเพิ่มความยั่งยืนตลาดทุน” นอกจากนั้น ยังมีผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรภาคสังคมกว่า 10 องค์กร รวมทั้งสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และวิสาหกิจเพื่อสังคม บริษัท เช้นจ์ เวนเจอร์ จำกัด ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนายกร่างแนวคิดกองทุนมาก่อนหน้านี้ โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานงานและร่วมแสดงความคิดเห็น